ผ้าม่านแบล็คเอาท์ Blackout

ผ้าม่านกันแสง Blackout

ผ้าม่านแบล็คเอาท์ Blackout คือผ้าอะไร

       ความนิยมของกระแสการทำม่านในปัจจุบัน ผ้าแบล๊คเอาท์เป็นผ้าที่คนให้ความสนใจ และนิยมใช้มากที่สุด ซึ่งก็มีหลายท่านอาจเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง กับผ้าดังกล่าว ว่าจริงๆว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มีความแตกต่างกับผ้าม่านทั่วไปอย่างไร มันกันร้อน กันแดดหรือกันแสงกันแน่ วันนี้เราจะมาแยก อธิบายคุณสมบัติของผ้าม่านแบ็คเอ้าท์แต่ละชนิดดังนี้

ทดสอบผ้ากันแสง

      ผ้าม่านแบล๊คเอาท์ คือผ้าอะไร หลายคนมีคำถาม มีข้อสงสัย จริงๆแล้วผ้าแบล๊คเอาก็คือผ้าที่มีเจตนาใช้ป้องกันแสง ไม่วาจะเป็นแสงแดด แสงไฟ หรือแสงอื่นๆ บางคนเรียกผ้าว่าผ้า UV หรือบางคนเรียกผ้าดรีมเอาท์ บางคนเรียกผ้ากันแสง หน้าที่สำคัญของผ้าแบล็คเอาท์ก็คือใช้กันแสงเท่านั้น แต่สิ่งที่ได้ตามมาก็คือ เมื่อแสงไม่ผ่าน แดดไม่เข้า ก็ลดความร้อน หรืออาจลดรังสีUVได้

ผ้าพื้นกันแสง ผ้าพื้นแบบสอดด้ายดำ

      คำว่าลดความร้อน ผ้าแบล็คเอาท์ นอกจากใช้ป้องกันแสงแล้ว ยังช่วยลดความร้อนจากภายนอก กันความเย็นจากภายใน อันนี้ก็เข้าใจไม่ผิดเท่าไร แต่บางท่านถาม อันนี้ผ้า UVหรือเปล่า อาจตอบว่าใช่ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะUVมีหลายอย่างหลายลักษณะ แสง ความร้อน รังษี ถ้ารังษี หรือคลื่นรังสี อาจกันไม่ได้ทั้งหมด เพราะคลื่นดังกล่าว เราไม่สามารถมองเห็นเปล่า บางครั้งในบางที่ แม้นไม่โดนแดด แต่อาจโดนหรือได้รับคลื่นรังสีก็เป็นได้ ฉนั้นผ้าแบล็คเอาท์อาจไม่รวมคำว่ากัน UV ทั้งหมด

ผ้าเคลือบซิลิโคลน

    ผ้าแบล็คเอาท์หรือผ้ากันแสง มีแบบไหนบ้าง จริงๆผ้าแบล็คเอาท์ที่ได้รับความนิยมในการใช้ทำม่าน มีลักษณะ มีที่มาและกรรมวิธีต่างกัน หลักๆก็จะมีอยู่ 3 ลักษณะ  ผ้าทอแบบ3ชั้น ที่สอดด้ายดำกลางเนื้อผ้า แบบคลือบโฟมหรือเคลือบซิลิโคนทีกันแสงได้มากกว่า และแบบฉาบปรอทสำหรับประกบหรือซับเข้าหลังผ้าม่านอีกที

ผ้าม่านกันแสงสอดด้ายดำ

      ผ้าแบล็คเอาท์หรือผ้ากันแสง มีแบบไหนบ้าง จริงๆผ้าแบล็คเอาท์ที่ได้รับความนิยมในการใช้ทำม่าน มีลักษณะ มีที่มาและกรรมวิธีต่างกัน หลักๆก็จะมีอยู่ 3 ลักษณะ ที่มีความแตกต่าง เช่นลักษณะการทอแบบ3ชั้น ที่สอดด้ายดำกลางเนื้อผ้า แบบคลือบโฟมหรือเคลือบซิลิโคนทีกันแสงได้มากกว่า และแบบฉาบปรอทสำหรับประกบหรือซับเข้าหลังผ้าอีกที

ผ้าม่านกันแสงแบบสอดด้ายดำ

1.ผ้าม่านกันแสงแบบสอดด้ายดำกลางเนื้อผ้า

      ผ้าม่านกันแสงแบบสอดด้ายดำ ผ้าม่านแบล็คเอาท์ชนิดนี้ จะใช้เทคนิคการสอดด้ายดำเข้ากลางเนื้อผ้า ซึ่งเราอาจไม่มองไม่เห็น เพราะด้ายดำจะสอดเข้ากลางเนื้อผ้าในขั้นตอนการทอผ้า โดยผ้าที่สอดด้ายดำ ด้านหน้าและด้านหลังผ้าก็จะเหมือนผ้าปกติทั่วไป ซึ่งถ้าดูผิวเผินอาจแยกไม่ออกระหว่างสอดกับไม่สอดด้ายดำ สำหรับผ้าแบล็คเอาท์แบบสอดด้ายดำนี้มีหลายรูปแบบ เช่น ด้านหน้าสีหนึ่ง ด้านหลังเป็นอีกสีหนึ่งในผืนเดียวกัน(เรียกว่าผ้าสองหน้า) อีกแบบคือ ทั้งด้านหน้าและหลังเหมือนกัน หรือด้านหน้าทอลาย ด้านหลังเรียบ ทั้งหลายตามที่กล่าว ผ้าชนิดนี้จะใช้วิธีการสอดด้ายดำซื่งเป็นเทคนิคการทอที่เสร็จสรรพจากเครื่องตั้งแต่แรก ในเรื่องการป้องกันแสงอาจแตกต่างกัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างผ้า ว่ามีความหนาแน่นของเส้นด้ายต่างกันมากแค่ไหน โดยทั่วไปผ้าชนิดนี้อาจกันแสงไม่ได้ถึง 100% องค์ประกอบหรือปัจจัยเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะสีของผ้า สีเข้มจะกันแสงมากกว่า สีอ่อนกันแสงได้น้อยกว่า(ผ้าคอลเลคชั่นชนิดเดียวกัน สีอ่อน-เข้ม กันแสงได้ไม่เท่ากัน) บางครั้งเรียกผ้าชนิดนี้ว่าผ้าดรีมเอ้าท์

         สำหรับข้อดีของผ้าชนิดนี้คือ เป็นผ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากความสวยงาม การทิ้งตัว ความพริ้วไหว ให้ความลงตัวมากกว่า เนื้อผ้าสวยงามเหมือนผ้าปรกติ ไม่รู้สึกหนา ความลงตัวหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเย็บ ขั้นตอนการประกอบเป็นผ้าม่านเช่นม่านหลุยส์ จะทำได้ดี ผ้าดูสวย มีน้ำหนัก พริ้วไหว ทิ้งตัวดีกว่าผ้าแบบ อื่น ที่สำคัญราคาก็ถูกกว่าเมื่อเทียบกับผ้าหน้าแคบ (ผ้าหน้าแคบ ความกว้างของผ้าไม่เกิน 150 ซม) คือมีราคาต่างกันเล็กน้อย แต่ถ้านำมาตัดเย็บแล้วจะถูกกว่าแบบอื่นมากกว่า

          ผ้าม่านแบล็คเอ้าท์ประเภทนี้จะเป็นผ้าหน้ากว้างประมาณ 280 ซม. นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งเริ่มนิยมใช้ตั้งแต่ ปี 2555 จนมาถึงปัจจุบัน คุณภาพเรื่องการใช้งานอาจไม่เท่ากับผ้าที่ผลิตจากประเทศไทยเราอย่างแน่นอน แต่ด้วยความราคาที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับผ้าไทย ทำให้ผ้าที่นำเข้าจากจีนได้รับความนิยมมากในขนะนี้ ส่วนราคาผ้าแบล็คเอ้าท์นี้ราคาเมตรละประมาณ 200-400 บาท

ผ้าเคลือบซิลิโคลน

2.ผ้าม่านกันแสงแบบเคลือบซิลิโคลน 

แบบเคลือบซิลิโคล ผ้าประเภทนี้โดยส่วนใหญ่กันแสงได้ 100% ซึ่งแสงไม่สามารถผ่านได้เลย เป็นแบบใหม่ล่าสุดแทนการเคลือบโฟม ซึ่งค่อนข้างลงตัว สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างดี สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้แสงผ่านเลย ผ้าเคลือบซิลิโคลนี้ด้านหน้าส่วนที่เรามองเห็นหรือด้านที่หันเข้ามาในบ้าน จะเป็นเนื้อผ้าปกติแต่อีกด้านหนึ่งคือด้านนอก จะเห็นเป็นเนื้อซิลิโคล อาจจะเป็นสีเข้มหรือสีอ่อน โดยเฉพาะสีเทาหรือเทาดำที่มักนิยมมากกว่าสีอื่น สำหรับเรื่องการทิ้งตัวก็ถือว่าใช้ได้ดีเมื่อเทียบกับผ้าแบบอื่นๆ ทำเป็นจีบหรือม่านลอนรวมทั้งม่านพับ ถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว สำหรับผ้าเคลือบซิลิโคลน เรือ่งการรักษารูปทรงถือว่าทำได้โอเคเลยทีเดียว แต่อาจจะไม่พริ้วไหวเหมือนผ้าสอดด้วยดำ ผ้าม่านประเภทนี้ มีทั้งผ้าหน้าแคบและผ้าหน้ากว้าง ถ้าผลิตในประเทศจะเป็นผ้าหน้าแคบ ซึ่งหน้ากว้างเองจะนำเข้าจากจีนเช่นกัน เพราะบ้านเราเครื่องทอยังมีข้อจำกัด ส่วนราคาอาจสูงกว่าผ้าแบล็คเอาท์แบบอื่น ทั้งหน้าแคบและหน้ากว้างจะมีราคาตั้งแต่ 350-600 บาท/หลา

ผ้าคลือบโฟม

3.ผ้าม่านเคลือบโฟม 

เป็นผ้ากันแสงอีกชนิดมีมีลักษณะของการเคลือบ โดยด้านหน้าเป็นลายผ้าธรรมดา แต่ด้านหลังจะถูกเคลือบด้วยโฟม สัมผัสด้วยมือจะเหมือนฟองน้ำบางๆ เคลือบอยู่ที่ด้านหลังผ้า จุดเด่นก็ใช้ในการกันแสงด้วยเช่นกัน เป็นผ้าลักลักษณะเดียวกับ ผ้าเคลือบซิลิโคลน ผ้าจะมีความหนามากกว่าผ้าชนิดอื่นบ้างเล็กน้อย ความหนาของผ้าอาจช่วยซับเสียงได้บางส่วน และจะช่วยป้องกันความเย็นจากภายในได้ในระดับหนึ่ง ผ้าเคลือบโฟมมีข้อจำกัดมากกว้าผ้าอื่น เช่น อายุการใช้งานที่น้อยกว่าเพราะความแข็งแรงของโฟมในการยึดเกาะกับเนื้อผ้าอาจมีขีดจำกัด ยิ่งถ้านานวันถ้านำไปซักผลจากการโดนแดดเผาเป็นเวลานาน โฟมจะหลุดเป็นจุดหรือบริเวณที่โดนแดดมากๆ ทำให้ผ้าเสียหายเร็วกว่า ส่วนราคาจะสูสี ใกล้เคียงกับผ้าเคลือบซิลิโคลน ทั้งหน้าแคบและหน้ากว้างจะมีราคาตั้งแต่ 350-550 บาท/หลา

ผ้าฉาบปรอท

4.ผ้าฉาบปรอท 

         กันแสง สะท้อนความร้อน ผ้าม่านฉาบปรอท ใช้กันแสง แสงแดด แสงไฟ สะท้อนความร้อน ลดการสะสมความร้อน ป้องกันแสงที่จะผ่าน100% ทำจากผ้าบางๆคล้ายผ้าร่ม มีน้ำหนักเบา ฉาบดัวยปรอทด้านหลังเนื้อผ้า สำหรับติดด้านหลังทำซับในของผ้าม่านอีกที เพื่อกันแสงไม่ให้ผ่านเข้ามายังเนื้อผ้าและยังช่วยสะท้อนความร้อนลดการสะสมของความร้อน จุดเด่นอีกอย่างของผ้ากันแสงแบบฉาบปรอทคือช่วยรักษาผ้าม่านไม่ให้โดนแดดโดยตรง เพราะเวลาติดจะติดด้านในหรือด้านหลังของผ้าม่าน ซึ่งเป็นส่วนที่รองรับแสงแดดจากภายนอก ผ้าม่านแบบฉาบปรอทเป็นที่นิยมอย่างมากเมื่อก่อน แต่ทุกวันนี้อาจได้รับความนิยมลดลงจากเมื่อก่อนค่อนข้างมาก ด้วยมีข้อจำกัดหลายข้อ เช่น เพิ่มค่าใช้จ่ายเพราะต้องทำเป็น 2 ชั้น มีอายุการใช้งานจำกัดปรอทหลุดออกจากตัวผ้า ทำให้คุณสมบัติลดลง แสงอาจผ่านได้ ขาดความสวยงามที่ผ้าม่านควรอ่อนช้อยพริ้วไหว ตัวปรอทมีผลต่อสุขภาพ

ผ้าม่านประหยัดพลังงาน

5.ผ้าม่านสะท้อนรังษีความร้อน

        เป็นผ้าที่ทำขึ้นมาโดยเน้นการลดความร้อนจากภายนอก ซึ่งสามารถลดอุณภูมิภายในได้ ประมาณ 1-4 องศา ซึ่งทำให้มีผลต่ออุณภูมิภายในห้อง ผ้าชนิดนี้ที่มีขาย ณ ตอนนี้จะเป็นผ้าของ PASAYA ที่สามารถสะท้อนคลื่นความร้อนได้ ส่งผลในเรื่องประหยัดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ ทางPASAYA เรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าประหยัดพลังงาน     

 

 หมายเหตุ: ผ้าม่านทุกประเภทสามารถกันแดดได้หมด ยกเว้นแค่ผ้าม่านโปร่งที่เป็นผ้าบางๆเพราะเจตนาของผ้าโปร่งคือใช้สำหรับกรองแสง